สนาม: ชีวิตที่ทันสมัย
บทนำ:กระแสข่าวของ น้องทราย ในขณะนี้ กลับเป็นผลดี น้องทราย ได้รับการติดต่อให้ไปออกรายการทีวีหลายรายการ อาทิ รายการ ตีสิบ ทางช่อง 3 หลังสัมภาษณ์เสร็จ เสี่ยวีทีวิทวัส สุนทรวิเนตร์ กระซิบบอกคนสนิท น้องทราย ให้ดูแลน้องทรายดี ๆ เด็กคนนี้ฉลาด มีแววรุ่ง แล้วก็ยังมีรายการ รักเอย ของ โพลีพลัส จ่อคิวต่อทันที ถามความรู้สึกของ น้องทราย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นเธอกราบขอโทษพี่ทาทา ไม่เคยคิดจะก้าวก่ายชื่อเสียงของพี่ เพียงแค่หนูอยากให้พ่อดูแลทรายกับแม่บ้าง ส่วนที่มีคนพูดว่า ทรายอยากดัง !หนูขอยืนยันอีกครั้งว่า หนูไม่ได้อยากดัง หนูไม่ได้สร้างกระแส ก่อนหน้านี้หนูไม่เคยรู้ว่าพ่อหนูเป็นใคร ถามแม่ทีไร ก็บอกว่าพ่อเสียแล้ว แต่วันหนึ่งหนูเห็นรูปผู้ชายคนนี้ในหนังสือพิมพ์ ในงานศพแม่ของพี่ทาทา เอะใจว่าผู้ชายคนนี้ทําไมหน้าตาเหมือนรูปพ่อ ที่อยู่ในกระเป๋าทราย ก็เลยไปถามแม่ แม่ก็เลยบอก แม่ปิดทราย มาตลอด...
สนาม: เครือข่าย HC
บทนำ:หลังเลิกจากงานประจำทุกอย่าง "เชิด ทรงศรี" เริ่มจับงานเขียนวนิยาย-เรื่องสั้น รวมถึงสารคดี บทความ บทละครวิทยุ-โทรทัศน์ และบทวิจารณ์ภาพยนตร์ การแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อย่างจริงๆ จังๆ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาทำจากทุนของตนเองก็คือ "โนห์รา" (16 มม.) ซึ่งเป็นหนังที่ทำรายได้สูงสุดในปีที่นำออกฉาย เช่นเดียวกับหนังตลกอย่าง "พ่อปลาไหล" ภาพยนตร์ 16 มม. เรื่องสุดท้ายที่เจ้าตัวทำและเป็นภาพยนตร์ 16 มม.ที่ทำรายได้สูงสุดในประเทศ แม้จะเป็นผู้กำกับที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของความสามารถ ทว่าเจ้าตัวก็ยังขวนขวายหาความรู้ ด้วยการเดินทางไปอเมริกาเพื่อศึกษาวิชาการภาพยนตร์เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ ก่อนจะเดินทางกลับมาทำหนัง 35 มม.เรื่อง "ความรัก" ด้วยแรงบันดาลใจจากการที่ได้เห็นระบบครอบครัวของคนในสังคม โดยเฉพาะคนแก่ที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดเดี่ยวระหว่างที่เรียนอยู่ที่ยูซีแอลเอ ทว่าหนังเรื่อง ความรัก กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักเนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่ต้องการของตลาด เป็นเหตุให้เจ้าตัวต้องหันกลับมาจับหนังตลกอีกครั้งใน "พ่อไก่แจ้" ก่อนที่เจ้าตัวจะพร้อมขาดทุนกับหนังเรื่อง "แผลเก่า" ทว่าเรื่องกลับพลิกล็อกเมื่อหนังเรื่องดังกล่าวกลับทำรายได้สูงสุดของวงการและกวาดรางวัลมามากมายทั้งในและนอกประเทศ อาทิ รางวัลกรังด์ปรีซ์จากการประกวดภาพยนตร์ในงาน Festival des 3 Continents ณ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส, ได้รับเลือกจาก Museum of Moving Image in London นิตยสาร Sight and Sound และผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์จากทั่วโลก ให้เป็น 1 ใน 360 ภาพยนตร์คลาสสิคของโลก(2541) ก่อนที่เจ้าตัวจะมาสร้างชื่ออีกครั้งกับ "อำแดงเหมือนกับนายริด" ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเลือกเป็น Opening Film ในงานมหกรรมภาพยนตร์ Focus on Asia 1994 Fukuoka International Film Festival และได้รับเลือกฉาย ณ โรงภาพยนตร์ Art House Iwanami Hall และโรงในเครือทั่วประเทศญี่ปุ่น
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-03-07